ได้ยินว่าตำแหน่งของการเกิดเหงื่อ กระทั่งปริมาณของเหงื่อที่หลั่งออกมา สามารถบ่งชี้อาการของโรคบางชนิดได้ จึงชวนให้ไปหาคำตอบ ว่าเหงื่อเม็ดเป้งที่ผุดพรายเต็มใบหน้าในขณะนี้ บอกอะไรกับเราได้บ้าง
รู้จักเหงื่อกันดีหรือยัง
1. เหงื่อที่ผลิตจาก Eccrine Sweat Glands มีลักษณะใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น ร่างกายจะขับเหงื่อชนิดนี้ออกมาเวลาทำกิจกรรมหนักๆ หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อน
2. เหงื่อที่ผลิตจาก Apocrine Sweat Glands เป็นต่อมเหงื่อที่กระจายตัวอยู่บางตำแหน่งของร่างกาย เช่นรักแร้ขาหนีบทวารหนักหัวหน่าวก้นแผ่นหลังมีส่วนผสมของไขมันและกลิ่นเฉพาะตัวอยู่ด้วย
สังเกตโรคจากเหงื่อ
ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีอาการเหงื่อซึมทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้างร่วมกับมีอาการหงุดหงิดง่าย มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลด ตาโปน ผมร่วง เหนื่อยง่าย ใจสั่น และหิวน้ำบ่อย
วัณโรค หากมีเหงื่อออกมากทั่วตัวในเวลากลางคืนสลับกับเป็นไข้ ไอเรื้อรัง รู้สึกเบื่ออาหารและน้ำหนักลด ติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ควรไปพบแพทย์เป็นการด่วน เพราะอาการเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่ง ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค
เบาหวาน คนที่เป็นเบาหวานและมีอาการแทรกซ้อนของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีอาการเหงื่อซึมทั่วตัว โดยเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งเกิดจากตับผลิตอินซูลินน้อยเกินไปจนไม่พอดีต่อการใช้งาน ส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ ทั้งนี้จะมีอาการใจสั่น เหนื่อยหอบและรู้สึกหวิวๆ เหมือนจะเป็นลมร่วมด้วย
โรคหัวใจ ในกรณีของคนที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีอาการเหงื่อออกมาร่วมกับอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณความผิดปกติไปที่ระบบประสาทส่วนกลาง
ภาวะใกล้หมดประจำเดือน เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนน้อยลงกว่าเดิม ทำให้ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) มีอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ประจำเดือนมาน้อยหรือมามากกว่าปกติ และมีอาการวูบวาบตามตัว ซึ่งร่างกายจะระบายความร้อนออกมาในรูปของเหงื่อ
อย่างไรก็ตาม อาการบ่งชี้ข้างต้น อาจต้องมีปัจจัยร่วมอีกหลายประการ ทางที่ดีคือการดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดี ดื่มน้ำวันละ 1 ลิตรเป็นอย่างนั้อย และหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเหงื่อของรูขุมขน ยังเป็นคาถานำพาเราห่างไกลโรคได้เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น