วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาหารเสริมอารมณ์

     คุณอาจคิดไม่ถึงว่าอาหารที่คุณรับประทานนั้นมีผลต่ออารมณ์ได้ และในทางตรงกันข้าม อารมณ์ของคุณก็มีผลกับอาหารที่คุณเลือกรับประทานด้วย อารมณ์ดีหรือไม่ดีนั้นมีผลมาจากความเครียด ความกังวลใจ ความตื่นเต้น หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนและช่วงกำลังหมดประจำเดือนในผู้หญิง

มีอาหารใดที่รับประทานแล้วทำให้อารมณ์ดีขึ้นหรือไม่
คงจะไม่มี แต่แน่นอนว่าถ้าร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างอาจทำให้เกิดอารมณ์เสียได้ จากงานวิจัย
พบว่า ผู้ที่ขาดวิตามินบี 1 โฟเลท วิตามินบี 6 หรือวิตามินบี 12 จะทำให้เกิดความเครียดได้มากกว่า และยังพบว่าผู้ที่ขาดโอเมก้า 3 ที่พบในปลาจะทำให้ เกิดโรคซึมเศร้า และมีอารมณ์แปรปรวนได้มากกว่าผู้ที่ได้รับสาร
โอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ

ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ถ้าปล่อยให้ความเครียดนั้นสะสมมากขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจ และมีผลกับสุขภาพตามมา 
ความเครียดทำให้บางคนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ถ้าปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร
ผอมแห้ง ไม่มีแรง สมองคิดอะไรไม่ออกเพราะกลูโคสไปเลี้ยงไม่พอ ภูมิคุ้มกันโรคน้อยลง เป็นหวัดได้ง่าย หรือรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้น้ำย่อยไปกัดกระเพาะอาหารเป็นแผลได้ โรคนอนไม่หลับก็เป็นผลที่ตามมาจากความเครียด ผู้ที่นอนไม่หลับบวกกับมีความเครียดอยู่ด้วย อาจหันไปหาของมึนเมาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้ลืมความเครียดและช่วยให้นอนหลับ แต่ตามความเป็นจริงแล้วแอลกอฮอล์ทำให้ตื่นตอนกลางคืนบ่อย และทำให้นอนหลับไม่สนิท

ในทางตรงกันข้าม ความเครียดอาจทำให้บางคนรับประทานอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารหวานหรือ
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ความเครียดทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอล(Cortisol) สูงขึ้น ฮอร์โมนคอร์ทิซอล ตัวนี้ทำให้ระดับอินซูลินในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้รู้สึกหิว จากงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใน
ซานฟรานซิสโก พบว่าผู้หญิงที่อยู่ในภาวะเครียดจะเลือกรับประทานของหวานที่มีไขมันสูงมากกว่าอาหารประเภทอื่นๆ และจะรับประทานในปริมาณที่มาก ผู้ใดที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทนี้อาจมีปัญหาเรื่องของน้ำหนักเกินได้

ผู้หญิงก่อนมีประจำเดือนมักมีอารมณ์แปรปรวน 
ทางการแพทย์ว่า Premen stral Syndrome หรือ PMS บางคนมีอารมณ์แปรปรวนมากจนต้องพึ่งยา
โภชนาการก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ PMS เหมือนกัน ผู้เชี่ยวชาญพบว่าสารอาหารบางอย่างสามารถช่วย PMS ได้
บ้าง โดยเฉพาะแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินบี 6

อาการของผู้ที่ขาดแคลเซียมนั้นคล้ายๆ กับอาการของ PMS จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่ได้แคลเซียมเสริม
1,200 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งเท่ากับการดื่มนมวันละ 4 แก้วนั้น มีอาการของ PMS ลดน้อยลง โดยเฉพาะอาการ
เหนื่อยล้าและนอนไม่หลับ หลายๆ คนคงจะดื่มนมวันละ 4 แก้วไม่ได้ ก็อาจใช้ในรูปของอาหารเสริม ทางที่ดี
ควรรับประทานแคลเซียมเสริมพร้อมกับอาหาร จะทำให้การดูดซึมดีขึ้น

แมกนีเซียมเป็นสารอาหารที่พบมากในผักโขม งา เต้าหู้ เมล็ดดอกทานตะวัน ถั่วต่างๆ จมูกข้าวสาลี และสาหร่าย เมื่อรับประทานคู่กับวิตามินบี 6 พบว่าอาการซึมเศร้า ความกังวลใจ ความกลุ้มใจ ลดน้อยลงในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน วิตามินบี 6 พบมากในมันฝรั่ง กล้วย แคนตาลูป ผักโขม ถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี และอาหารประเภทโปรตีนต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ถ้าจะรับประทานวิตามินบี 6 ในรูป ของอาหารเสริมนั้น ไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะวิตามินบี 6 ในรูปของอาหารเสริมอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
สำหรับผู้หญิงที่ชอบรับประทานช็อกโกแลต อาจสังเกตว่าก่อนมีประจำเดือนมักรับประทานช็อกโกแลต
เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะช็อกโกแลตมีทั้งน้ำตาล ไขมัน กาเฟอีน และแมกนีเซียม ซึ่งส่งผลทำให้อารมณ์ดีขึ้น แต่ข้อควรระวังคือตัวเลขของสายวัดรอบสะโพกคุณอาจเพิ่มขึ้นได้ เอาเป็นว่าผู้ที่อยาก หาวิธีที่จะทำให้อารมณ์ดีขึ้นในช่วงที่อารมณ์ แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน ควรเลือกรับ ประทานอาหารให้หลากหลาย มีข้าวซ้อมมือ โปรตีนจากปลา เต้าหู้ ผัก ผลไม้ ถั่ว และมีช็อกโกแลตได้บ้างในบางโอกาสก็แล้วกัน

อารมณ์ไม่ดีอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้าได้ด้วย 
ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ผู้ที่อดมื้ออาหาร ผู้ที่ไดเอ็ทหรือผู้ที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก มักรู้สึก
เหนื่อยล้า ทั้งนี้เนื่องจากอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ น้ำตาลในเลือดจะเริ่มลดลง 4 ชั่วโมงหลังจาก
รับประทานอาหาร การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง อาจช่วยให้คุณมีกำลังทำงานมากขึ้นในแต่ละวัน การรับประทานอาหารเช้าเป็นทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นวันใหม่อย่างกระปรี้กระเปร่า ผู้เชี่ยวชาญพบว่าผู้ที่งดอาหารเช้าจะทำให้เหนื่อยล้า มีอารมณ์แปรปรวน และมีความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นในช่วงบ่ายถึงเย็น มากกว่าผู้ที่รับประทานอาหารเช้า อาหารเช้าที่ดีควรประกอบไปด้วยอาหารป ระเภทแป้งและโปรตีนควรเลือกแป้งที่มีน้ำตาลต่ำและมีเส้นใยอาหารสูง เช่น ขนมปังโฮลวีท ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง เป็นต้น

อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ ลูกอม น้ำอัดลม น้ำหวาน อาจทำให้คุณมีพลังงานมากขึ้น
ทันที แต่พลังงานนี้จะลดลงเร็วมากเช่นกัน

ในชีวิตประจำวัน ความเครียด ความกังวลใจ ความรู้สึกโมโหหรือดีใจ เป็นอารมณ์ต่างๆ ที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ อารมณ์ต่างๆ นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพไม่มากก็น้อย การเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย
รับประทานอาหารเป็นเวลาออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มมึนเมามากๆ และทำจิตใจให้สงบ จะทำให้เรารับมือกับสิ่งต่างๆ ที่มีผลกับอารมณ์ได้

เมนูอารมณ์ดี 5 วัน

วันเช้ากลางวันเย็น
จันทร์แซนด์วิชทูน่า ส้ม 1 ผล
น้ำเต้าหู้
บะหมี่น้ำหมูแดงปู
ฝรั่ง 1 ผล
ข้าวกล้อง ยำถั่วพู ไก่ผัดขิง
แกงจืดสาหร่ายเต้าหู้
อังคารโจ๊กไก่ น้ำฝรั่งขนมจีนน้ำพริก กล้วยปิ้งข้าวต้ม หน่อไม้จีนผัดเห็ดหอม
ไข่พะโล้ ยำกุ้งแห้ง ปลาแห้ง
แคนตาลูปราดโยเกิร์ตพร่องมันเนย
พุธข้าวโอ๊ตต้ม (โจ๊ก) แอ๊ปเปิ้ลข้าวเหนียว ส้มตำ
ปลาซาบะย่าง
ข้าวกล้อง น้ำพริกอ่อง ผักสดสุก
เต้าหู้ผัดถั่วงอก แตงโมแช่เย็น
พฤหัสบดีขนมปังโฮลวีทปิ้งทาเนยถั่ว 2
แผ่น กล้วยหอม น้ำเต้าหู้
ข้าวคลุกกะปิข้าวกล้อง ตำผลไม้ ไก่ย่างจิ้มแจ่ว
ผักต้ม
ศุกร์ข้าวต้มปลา น้ำส้มคั้นสลัดทูน่า ขนมปังโรล
มะละกอโกโก้เย็นปั่น
ข้าวกล้อง ต้มข่าไก่ ปลาสามรส
ผัดผักรวม

simple xhtml
Netflix

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น