ลองมาทำความรู้จักและป้องกันศัตรูร้ายให้ไกลจากระบบทางเดินหายใจกันดีกว่าค่ะ
ฝุ่น
เมื่อพูดถึงฝุ่น หลายคนคงคิดถึงภาพฝุ่นดิน ฝุ่นทราย ที่ปลิวคลุ้งอยู่ในอากาศ แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของฝุ่นมันไม่ได้มีแค่นั้น เพราะฝุ่นมีอยู่หลายชนิด บางชนิดเป็นฝุ่นที่เรามองไม่เห็น แต่กลับมีอันตรายมากกว่าฝุ่นทั่วๆ ไป
- ฝุ่นอินทรีย์ ส่วนใหญ่พบมากกับผู้ที่ประกอบอาชีพเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตร เนื่องจากต้องอยู่กับ
พืชผลที่ชื้นมากๆ มีทั้งเชื้อราและฝุ่น หรือเก็บผลิตผลไว้ในที่ชื้น และหายใจเอาเชื้อราเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบในตัวเนื้อปอด
- ฝุ่นจากสารเคมี พบมากในสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นมากและมีการใช้สารเคมีหรือโลหะต่างๆ เช่น นิเกิล โครเมียม หรือเกิดจากกระบวนการเชื่อม บัดกรี หลอม เป็นต้น หากไม่ป้องกันให้ดีก็อาจหายใจรับสิ่งเหล่านี้เข้าไป แม้จะไม่เกิดผลในทันที แต่มันก็จะสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ
- ฝุ่น PM 10 ในช่วงเดือนมีนาคม คนจำนวนมากโดยเฉพาะภาคเหนือจะป่วยด้วยโรคระบบทางเดิน
หายใจกันมาก ไม่ว่าในโรงพยาบาลใหญ่หรือโรงพยาบาลเล็กๆ จะพบผู้ป่วยมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีระดับฝุ่น PM 10 เป็นจำนวนมาก โดยฝุ่น PM 10 เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา จัดเป็นฝุ่นละอองที่เป็นมลพิษ โดยเฉพาะในเมืองที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่เรียกว่า ตัวอย่างเช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน เมื่อมีการเผาป่ามากขึ้น และเป็นช่วงที่ลมนิ่ง จะทำให้ลมไม่สามารถพัดเอาฝุ่นควันลอยออกจากแอ่งไปได้ มลพิษจึงตกอยู่ในเมือง เมื่อมีฝุ่น PM 10 ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศเป็น จำนวนมาก จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ
- ผงฝุ่นยา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับยา เช่น นักเภสัชกร เจ้าหน้าที่นับหรือบรรจุยา เพราะยาบางตัวมีผงฝุ่นมาก เนื้อยาแตกร่วนง่าย กองอยู่ก้นถุง หากหายใจสูดเข้าไปมากๆ จะรู้สึกขมคอ ยาบางตัวมีกลิ่นเหม็นจนทำให้เกิดอาการแสบคอ ต่อมาก็เกิดอาการไอเรื้อรังอันตรายจากฝุ่น จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุจมูก เจ็บคอ ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือคนที่มีโรคหืดหรือถุงลมโป่งพองเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อสูดละอองฝุ่นพิษเข้าไปอาจทำให้อาการกำเริบได้ รวมทั้งโรคปอดอักเสบ อาการของโรคนี้คือ มีไข้ ไอ หอบ คล้ายๆ กับปอดติดเชื้อ แต่จะเกิดเร็วกว่า บางคนที่รับฝุ่นเข้าไปก็มีอาการทันที
|
การป้องกัน
1. ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อช่วยลดการหายใจเอาฝุ่นควันพิษเข้าไป ถ้าระดับฝุ่นควันมีมาก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดปาก ปิดจมูกมื่อมีปริมาณฝุ่นละอองมาก
2. งดออกกำลังกายในที่โล่ง เพื่อป้องกันไม่ให้สูดเอาฝุ่นควันเข้าร่างกาย
3. ทุกครัวเรือนควรงดเผาขยะ เพื่อลดจำนวนฝุ่นควันที่จะเพิ่มขึ้นในละแวกบ้าน
4. ถ้าขี่รถจักรยานยนต์ต้องใส่แว่นหรือหมวกกันน็อก และใช้ผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันอาการแสบตา
5. ควรเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้อากาศไหลเวียนออกไปข้างนอก หรือนำผ้าม่านชุบน้ำบิดให้หมาดๆ ก่อน แขวนไว้ที่หน้าต่าง
6. ปลูกต้นไม้บริเวณรอบบ้านให้มากๆ ทั้งต้นไม้ใหญ่และไม้เลื้อย การปลูกไม้เลื้อยไว้ข้างหน้าต่างจะช่วยป้องกันฝุ่นละอองได้ดี ยิ่งติดตั้งสปริงเกลอร์น้ำแบบละอองฝอยด้วย จะช่วยดักจับฝุ่นให้เกาะรวมกันเป็นก้อนแล้วตกลงข้างล่าง หากอยู่คอนโดก็สามารถปลูกไม้เลื้อยแขวนห้อยตามแนวดิ่งได้ การปลูกต้นไม้ นอกจากช่วยลดฝุ่นควันแล้ว ยังช่วยฟอกอากาศและให้อากาศบริสุทธิ์แก่เราไปในตัวควันพิษ
อาชีพที่เสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับควันพิษ ก็คือ พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของตามริมฟุตบาธ พนักงานรักษา ความปลอดภัย ตำรวจจราจร วินมอเตอร์ไซต์ และอื่นๆ ที่ต้องอยู่ท่ามกลางไอเสียและควันจากรถยนต์ แม้ในปัจจุบันจะมีหน้ากากปิดจมูกช่วยกรองอากาศได้อีกชั้นหนึ่ง แต่ความจำเป็นของบางชีพก็อาจทำให้ไม่สามารถใส่หน้ากากได้ตลอดเวลา เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ต้องเป่านกหวีดตลอดเวลา โบกรถและพูดคุยกับผู้ที่มาใช้บริการ ฉะนั้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากควันพิษ ผู้ที่รู้ตัวว่ามีความเสี่ยงดังกล่าว ก็ควรมีวินัยและบังคับให้ตัวเองใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา และเลือกใช้หน้ากากที่สามารถกรองอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ
ไอระเหย
พิษร้ายจากไอระเหยมีหลายประเภท บางประเภทต้องพึ่งความร้อนเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาจนกลายเป็นไอ แต่บางประเภทกลับมีอันตรายในตัวของมันเอง อาทิ
- ไอของสารเคมี มีอาการพิษจากพิษของโลหะตัวนั้นๆ เช่น นิเกิล โครเมียม ที่มีการเชื่อม บัดกรี หลอม
ทำให้มีไอของโลหะนั้นๆ ขึ้นมา หากไม่ป้องกันให้ดีก็จะรับเข้าไปโดยการหายใจ
- ไอของกรด งานที่ต้องสัมผัสกับไอระเหยของกรด เช่น ผลิตชิ้นส่วนโลหะ เสี่ยงต่อการเกิดโรคจาก
ไอกรด ซึ่งอาการของโรคนี้ก็คือ จะ ทำให้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- ไอของสารทำละลาย ไอของสารทำละลายนี่ร้ายไม่แพ้ตัวอื่น เพราะมีฤทธิ์ ระคายเคืองทางเดินหายใจ และอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ด้วย
- ไอน้ำมันประกอบอาหาร สำหรับพ่อครัวแม่ครัวที่ต้องทำงานหน้าเตาตลอดเวลา ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด
อยู่กับไอน้ำมันที่นำกลิ่นไอจากเครื่องปรุงขึ้นมาด้วย เช่น พริก กระเทียม ทำให้รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในจมูก แรกๆ อาจมีอาการเล็กน้อยๆ เช่น แสบจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ หายใจไม่สะดวก หายใจทางจมูกไม่ได้ก็หายใจทางปาก และหากเป็นประจำ บางรายอาจมีอาการไอเรื้อรัง ทางที่ดีควรติดตั้งเครื่องระบายอากาศ เครื่องดูดควัน เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ทำความสะห้องครัว ทุกวัน เปิดหน้าต่างให้แสงแดดเข้าถึง
|
หากไม่สามารถหลีกเลี่ยง และมีความจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่ที่มีไอระเหยของสารอันตรายดังกล่าวมาข้างต้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากที่ได้มาตรฐานและเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการก็ควรใส่ใจรายละเอียดในการออกแบบสถานประกอบการ นั่นคือ ควรมีพื้นที่โปร่ง โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงการใช้สารอันตรายหากไม่จำเป็น มีสวัสดิการตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมทั้ง มีการเปลี่ยนหมุนเวียนพนักงานไม่ให้ทำหน้าที่เสี่ยงอันตรายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะสารอันตรายบางอย่างจะไม่เห็นผลในทันที แต่อาจสะสมและเกิดผลร้ายแรงในอนาคต |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น